ผื่นคีโต คืออะไร เกิดจาก รักษาอย่างไร

ผื่นคีโตคืออะไร

ผื่นคีโต เป็น อาการผื่นลักษณะหนึ่งที่สามารถเกิดกับคนที่ทานคีโต หรืออาหารคาร์บต่ำ โดยส่วนใหญ่ผื่นคีโตจะเกิดกับผู้หญิงที่ทานคีโต โดยผื่นคีโตอาจจะมีผลมาจากการแพ้อาหาร ปริมาณอะซิโตนที่เพิ่มขึ้น และ/หรือจากภาวะคีโตสิสก็ได้

เกริ่นนำ

ผื่นคีโต ตามชื่อเลยก็คือ ลักษณะอาการผื่นที่ขึ้นในบางบุคคลหลังจากมีเริ่มทานอาหารคีโต หรืออาหารที่มีการจำกัดคาร์โบไฮเดรตในปริมาณที่ต่ำมาก (ช่วง 7 วันเป็นต้นไป คือต้องเข้าคีโตสิสก่อน หากเกิดก่อนหน้า อาจจะเพราะแพ้อาหารมากกว่า) เมื่อจำกัดปริมาณคาร์โบไฮเดรตทำให้ร่างกายใช้พลังงานจากคีโตน ผ่านการย่อยไขมัน แทนที่จะใช้พลังงานจากกลูโคสที่มาจากการย่อยคาร์โบไฮเดรต นี่จึงนำ ไปสู่การเผาผลาญไขมันและเป็นผลไปสู่การที่น้ำหนักลด

อย่างไรก็ตาม เพราะการเปลี่ยนอาหารแบบทันทีทันใด มันก็อาจจะเกิดผลข้างเคียงได้ โดยผลข้างเคียงอันดับแรก ๆ ได้แก่ สมองตื้อ เหนื่อยง่าย ระดับเกลือแร่ขาดสมดุล รวมถึงการเป็นผื่นคีโตด้วย

ในบทความนี้คุณจะได้เรียนรู้ทุกอย่างเกี่ยวกับผื่นคีโต เช่น อะไรคือสาเหตุให้เกิดผื่นคีโต รักษาและแก้อย่างไร และทำอย่างไรเพื่อป้องกันไม่ให้มันเกิดขึ้น

ทำไมเมื่อทานอาหารคีโตจึงคัน (ที่มา)

ผื่นคีโตเป็นอาการอักเสบ บนผิวหนังที่พบได้ไม่บ่อยนัก สาเหตุที่แท้จริงยังไม่แน่ชัด แต่ผู้เชี่ยวชาญคีโต ส่วนใหญ่เชื่อว่าอาการนี้เป็นอาการเดียวกันกัล โรคที่ชื่อว่า prurigo pigmentosa

อย่างไรก็ตามผื่นคีโตและ prurigo pigmentosa จะเป็นอาการเดียวกันหรือไม่ ยังไม่ทราบชัด แต่จากงานวิจัยในปัจจุบันบ่งชี้ว่าคืออาการเดียวกันเพราะว่ามีกลุ่มอาการที่คล้ายกัน

นี่คือสิ่งที่เรารู้ในปัจจุบัน

  • งานวิจัยหนึ่งพบว่า ผู้หญิงมีโอกาสเกิดผื่นมากกว่าผู้ชายที่ 2.6 เท่า
  • งานวิจัยยังพบว่าผื่นมักจะเกิดกับ ผู้หญิงวัยรุ่นและในวัยหนุ่มสาวมากที่สุด
  • จากหลายๆงานวิจัย สามปัจจัยหลักที่เกี่ยวกับการเกิด prurigo pigmentosa ได้แก่ อาหารที่ทำให้เกิดการสร้างคีโตน ความเครียดทางอารมณ์ และอาการระคายเคืองบนผิวหนัง
  • งานวิจัยหลายงานบ่งชี้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างคีโตสิสและการเกิด prurigo pigmentosa จึงเป็นเหตุผลหลักให้เชื่อว่า ผื่นคีโต ก็คือ prurigo pigmentosa นั่นเอง

ลักษณะอาการของผื่นคีโต

ผื่นคีโต หรือจะขอสรุปว่าเป็นอาหาร prurigo pimentosa เป็นอาการอักเสบบนผิวหนังที่ค่อนข้างเกิดได้ยาก โดยมีลักษณะเด่นคือ ผื่นคันสีแดงริเวณช่วงลำตัวและลำคอ

ผื่นคีโตนั้นเป็นอาการทางผิวหนังที่สามารถเกิดได้กับทุกคนแต่จะเกิดบ่อยในผู้หญิงชาวเอเชีย งานวิจัยเชิงลึกเกี่ยวกับเรื่องนี้ทำในผู้หญิงญี่ปุ่น

ขั้นต่างๆของผื่นคีโต

ภาพจาก https://www.ruled.me/keto-rash-and-how-to-remedy/

ผื่นคีโต สามารถแบ่งอาการออกได้เป็น 4 ขั้น ดังนี้

  1. Early lesions ในขั้นนี้ บริเวณผิวจะมี ลักษณะคล้ายรอยขีดข่วนสีชมพู ขั้นนี้มักถูกมองภายนอกเหมือนกับผื่นทั่วไปหรือรอยขีดข่วน
  2. Fully developed lesions ขั้นนี้คือ ขั้นที่คนส่วนใหญ่กังวลกันมาก ในขั้นนี้ผิวจะเริ่มเกิดตุ่ม (papules) ขึ้น โดยตุ่ม (papules) ก็จะมีแบบ ตุ่มซิสน้ำ หรือในกรณีน้อยก็จะเป็นถึงตุ่มซิสหนอง
  3. Resolving lesions เมื่อผื่นเริ่มลดลงแล้ว สะเก็ดของตุ่ม จะเริ่มเกิดแทนที่ แล้วตุ่มก็จะเริ่มมีสีดำขึ้นและเข้มขึ้น
  4. Late lesions ในขั้นนี้ผิวหนังจะมีร่องรอยของคราบสีดำจากตุ่ม กระจายคล้ายตะข่าย เรียกว่า reticulated hyper-pigmentation เมื่ออาการมาถึงขั้นนี้แล้วแสดงว่าผื่นก็ถือว่าเกือบหายแล้ว สีดำอาจจะหลงเหลือหลังจากผื่นหายไปแล้ว แต่สีจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จนในที่สุดก็จะกลับเป็นปกติ

สำหรับอาการของแต่ละคน รวมถึงระยะเวลาในการเกิดนานเท่าไรก็แตกต่างกัน บางคนอาจจะใช้เวลาไม่กี่สัปดาห์จนไปถึงหลายเดือน โดยขั้นที่สามและสี่ มักจะอยู่นานที่สุด

กรณีที่ดีสุด มันจะหายไปเองในมีสัปดาห์ (โดยระหว่างนั้นสามารถทาพวกยาแก้คัน หรือใช้คารามายด์ทาได้)

กรณีที่เลวร้ายสุด คุณเป็นคนจำนวนน้อยนิดที่จะมีอาการเหล่านี้ทุกๆครั้งที่ร่างกายเข้าสู่ภาวะคีโตสิส

ผื่นคีโตเกิดจากอะไร

ยังมีงานวิจัยจำนวนน้อยที่แสดงถึงความเชื่อมโยงระหว่างอาหารคีโต และ ผื่นคีโต

อย่างไรก็ตามจากหลักฐานหลายอย่างแสดงถึงความเชื่อมโยงระหว่างอาหารคีโตและผื่นคีโต

นักวิทยาศาสตร์ยังไม่แน่ใจสาเหตุของผื่นคีโต แต่ก็มีหลายอาการที่อาจจะเกี่ยวข้องด้วย เช่น

นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อมโยงระหว่างผื่นที่เกิดใหม่กับภาวะ คีโตสิส จนกลายเป็นชื่อเรียกว่าผื่นคีโต ภาวะคีโตสิสส่วนใหญ่จะเกิดในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน รวมถึงคนที่จำกัดการทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ในส่วนของอาหารคีโตก็คือเป้าหมายให้ร่างกายอยู่ในภาวะคีโตสิสนี่เอง

  • กรณีศึกษาหนึ่ง หญิงอายุ 16 ปี เริ่มมีอาการผื่นหลังจากเริ่มเปลี่ยนการทานอาหาร
  • กรณีศึกษา ชายอายุ 17 ปี เข้ารับการรักษาอาการผื่นและโรคไขข้อ พบว่าก่อนจะมีอาการเข้าได้ทานอาหารแบบที่มีคาร์โบไฮเดรตแบบต่อมากมานานกว่า 1 ปี
  • การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวของ มีคนรวมทั้งสิ้น 14 คนที่อยู่ในภาวะคีโตสิสและแสดงอาการ prurigo pigmentosa

นอกจากนี้ ยังอาจจะมีปัจจัยอื่นเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดภาวะผื่นคีโตด้วย เช่น แสงแดด โดนความร้อนมากเกินไป เหงื่อ การเสียดสีที่ผิวหนัง และรวมถึงอาการแพ้

สาเหตุของผื่นคีโตจากอาหารคีโต

1. คีโตน เช่น อะซิโตน ที่ผลิตในร่างกายในช่วงคีโตสิส สามารถที่จะทำให้เกิดการอักเสบรอบเส้นเลือด หรือ perivascular inflammation ได้ และนำสู่การเกิดผื่น

2. การอดอาหารอย่างหนัก ในงานวิจัยหนึ่ง คนไข้จำนวน 50% แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างการอดอาหารกับผื่นคีโต เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดต่ำในช่วงการอดอาหาร ร่างกายของคุณจะเปลี่ยนไปอยู่ในภาวะคีโตสิส และนำไปสู่การเกิดผื่น

3. อาหารคาร์บต่ำ อาหารคาร์บต่ำโดยเฉพาะอาหารที่ทำให้คุณสูญเสียน้ำหนักในระยะเวลาอันสั้นมีความสำพันธ์กับการเกิดผื่นในงานวิจัยหนึ่ง

4. อาการแพ้ อาการแพ้จากอาหารที่คนที่ทานคีโตทาน อาจจะกระตุ้นการอักเสบได้

5. การขาดสารอาหาร การตัดอาหารบางอย่างออกไป โดยไม่ได้คำนึกถึงการทานให้ครบสารอาหารก็จะนำไปสู่การเกิดผื่น

วิธีรักษาผื่นคีโต

ผื่นคีโตรักษาอย่างไร

ผื่นคีโตสามารถที่จะรักษาหรือบรรเทาได้ โดยการเพิ่มคาร์โบไฮเดรตอาจจะช่วยให้อาการดีขึ้นได้ เช่น การทานผักหัว หรือเพิ่มถั่วต่างๆ รวมถึงการรักษาโดยการรอให้หายเองก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง 2-4 สัปดาห์ (ลักษณะคือร่างกายเริ่มปรับตัวได้)

1. อดทน รอเวลาผ่านไปเอง

ผื่นคีโตอาจจะหายไปด้วยตัวของมันเอง ภายในไม่กี่สัปดาห์ หากคุณเพิ่งเริ่มทานคีโตมันอาจจะเหมือนการรอคอยจนร่างกายเริ่มปรับตัว ยิ่งคุณอยู่ในภาวะคีโตสิสนานเท่าไร ร่างกายก็จะยิ่งคุณชิ้นกับการผลิตและใช้คีโต

งานวิจัยพบว่ามีคนป่วยที่ไม่ได้รับรักษาใดๆเลย ที่ผื่นสามารถหายไปได้เองในไม่กี่สัปดาห์

2. เพิ่มคาร์โบไฮเดรต

หากคุณพบว่าการเปลี่ยนอาหารเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดผื่นคุณอาจจะลองเพิ่มคาร์โบไฮเดรต

กรณีศึกษาหนึ่งพบว่าเมื่อมีการทานคาร์บโบไฮเดรตในอาหารที่ทานมากขึ้น รวมถึงการทานยาแก้การอักเสบ พบว่าช่วยบรรเทาอาการของผื่นคีโตได้

แต่หากคุณยังไม่พร้อมที่จะเลิกล้มการทานอาหารคีโต คุณอาจจะลองเพิ่มคาร์บขึ้นมาเพียงเล็กน้อยดู

3. อาการขาดสารอาหาร

การขาดสารอาหารเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดการอักเสบของผิวหนังได้

การขาดวิตามิน A, B-12, C ต่างก็เชื่อมโยงกับการเกิดอาการทางผิวหนังทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง

หากคุณทานอาหารแบบที่มีการจำกัดการทานมาก ร่างกายของคุณอาจจะไม่ได้รับวิตามินและแร่ธาตุที่เพียงพอ

การทานผักผลไม้ที่หลากหลาย และมีหลายสี ก็เป็นทานเลือกหนึ่งในการที่คุณจะมั่นใจว่าคุณได้รับสารอาหารที่เหมาะสม

4. จัดการกับอาการแพ้อาหาร

ที่มา www.dietdoctor.com

อาหารคีโต นั่นจะแนะนำให้คุณทานอาหารที่คาร์บต่ำและมีไขมันสูง โดยอาหารส่วนใหญ่ที่ทานก็ได้แก่ ไข่ ผลิตภัณฑ์จากนม ปลา ถั่วเปลือกแข็งและเมล็ดต่างๆ

โดยอาหารเหล่านี้ก็บังเอิญเป็นกลุ่มอาหารที่คนจำนวนมากมีอาการแพ้ แสลงได้

อาการแพ้จากอาหารก็เป็นต้นเหตุหนึ่งของการอักเสบ เพราะฉะนั้นการลดหรือเลี่ยงอาหารที่คุณอาจะแพ้ได้ก็จะช่วยบรรเทาอาการผื่นคีโตได้

5. ทานอาหารเสริมที่ช่วยต้านการอักเสบ

นอกเหนือไปจากการเปลี่ยนอาหารแล้ว อาหารเสริมบางตัวก็สามารถช่วยในการต้านการอักเสบได้

โพรไบโอติก พรีไบโอติก วิตามิน D และน้ำมันปลา ต่างก็ถูกใจในงานวิจัยทางคลินิกเพื่อช่วยเกี่ยวกับอาการด้านผิวหนัง

การทบทวนวรรณกรรมปัจจุบันยังพบว่า น้ำมันพริมโรส Primrose Oil ก็อาจจะช่วยในด้านนี้เช่นกัน

6. ดูแลผิวพรรณของคุณ

ผู้หญิง IF

มันเป็นเรื่องสำคัญที่คุณควรจะใส่ใจดูแลผิวพรรณตัวเองให้มากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณมีอาการอักเสบในผิวหนัง

National Eczema Association แนะนำให้คุณใช้น้ำอุ่นระหว่างอาบน้ำ และใช้สบู่แบบอ่อนโยน รวมถึง คลีนเซอร์แบบอ่อนโยน ในการทำความสะอาด นอกจากนี้การให้ผิวชุ่มชื้นโดย มอสเจอไรเซอร์เพื่อป้องกันผิวแห้ง และป้องกันปัจจัยภายนอกต่างๆ เช่น แดด และลม

7. ปรึกษาแพทย์ เกี่ยวยารักษาโรค

หากการดูแลที่บ้านไม่ได้ช่วยจำกัดผื่นคีโตของคุณ จนนำไปสู่การหาหมอ

ยาที่สามารถช่วยรักษาแบบได้ผลสำหรับ prurigo pigmentosa ก็คือกลุ่มยาปฏิชีวนะได้แก่ minocycline และ doxycycline นอกจากนี้ Dapsone ยังอาจจะใช้ได้ด้วย

ป้องกันการเกิดผื่นคีโตอย่างไร

ป้องกันการเกิดผื่นคีโตอย่างไร

การป้องกันการเกิดผื่นคีโต สามารถทำได้โดยการค่อยๆลดคาร์โบไฮเดรตก่อนเข้าคีโต หรือการทานวิตามินรวมเสริมตั้งแต่แรก ก็เป็นการป้องกันอีกวิธีหนึ่ง

เหมือนคำกล่าวที่ว่าป้องกันไว้ดีกว่าแก้ โดยเฉพาะคุณเป็นผู้หญิงวัย 18-43 ปี

เมื่อมีการเปลี่ยนหรือดูแลวิถีชีวิตและอาหาร มันอาจจะเป็นไปได้ที่ป้องการหรือบรรเทาผื่นคีโต

แม้ว่าการเกิดผื่นคีโตนั้นจะค่อนข้างเกิดได้ยาก คุณก็สามารถที่จะปรับใช้ขั้นตอนเหล่านี้เข้าไปเพื่อป้องกันก่อนที่มันจะเกิดได้

  1. ค่อยๆลดปริมาณคาร์โบไฮเดรตลง แทนที่จะตัดคาร์โบไฮเดรตทันทีทันใด คุณอาจจะค่อยๆ ลองลดปริมาณที่ทานลงทีละน้อย
  2. ทานวิตามินรวมเสริมตั้งแต่ต้น วิตามินรวมแบบวันละเม็ดสามารถช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการขาดวิตามินเมื่อคุณเริ่มทานอาหารคีโตได้
  3. ปรึกาษาแพทย์ หากคุณกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียงของอาหารคีโต รวมถึงผื่นคีโต การพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ หรือนักโภชนาการ อาจจะให้คำแนะนำในการเปลี่ยนผ่านได้ดี

อ่านเพิ่มเติม อาการอื่นๆ ที่สามารถเกิดได้ระหว่างทางอาหารคีโต

Leave a Comment