เกลือสีชมพูดีกว่าเกลือธรรมดาหรือไม่?
ถ้าใครมาเริ่มทานอาหารคีโต น่าจะเจอหลายๆต่อหลายสำนักแนะนำว่าจัดเลยเกลือหิมาลัยสีชมพูดี บางทีก็อาจจะเห็นภาพอินโฟกราฟฟิกที่แชร์กันแบบเกลือสีชมพูดีมีแร่ธาตุถึง 84 ชนิดอะไรทำนองนั้น
วันนี้เราจะมาพูดถึงบทความหนึ่งในเว็บไซต์สุดโปรดของผม healthline “Is Pink Himalayan Salt Better Than Regular Salt?” (ทำไมเว็บนี้ถึงสุดโปรดเพราะก่อนจะเริ่ม เขาจะบอกเลยว่าบทความนี้มีข้อมูลอ้างอิงไหม หรือว่าเป็นแค่การตั้งสมมติฐาน และถ้ามีอ้างอิงเขาก็จะลิ้งค์ไปที่งานวิจัยต่างๆ ให้เราได้เข้าไป เช็คอีกรอบได้”
เกลือสีชมพูหรือบางคนก็จะเรียกว่าเกลือหิมาลัย ชื่อฝรั่งเต็มๆมันคือ Pink Himalayan Salt เป็นเกลือชนิดหนึ่งนะครับที่มีสีชมพูตามธรรมชาติ โดยขุดมาจากเหมืองใกล้กลุ่มภูเขาหิมาลัยในประเทศปากีสถาน
หลายๆต่อหลายคนมักจะบอกว่ามันอุดมไปด้วยแร่ธาตุและให้ประโยชน์ทางสุขภาพต่างๆนาๆ
ด้วยเหตุนี้เกลือสีชมพู ในหลายๆครั้งจึงมักถูกมองว่ามีประโยชน์ หรือ Healthier กว่าเกลือแกงธรรมดา
อย่างไรก็ตามงานวิจัยเกี่ยวกับเกลือชมพูนั้นมีน้อยมาก และหลายต่อหลายคนก็มองว่าคุณประโยชน์ต่างๆที่มักจะถูกอ้างถึงเป็นการคาดเดาเอาเสียมากกว่า
บทความนี้จะดูถึงความแตกต่างระหว่างเกลือชมพูและเกลือธรรมดา พร้อมกับพิจารณาหลักฐานต่างๆประกอบเพื่อดูว่าเกลือชนิดไหนมีประโยชน์มากกว่ากัน
เกลือคืออะไร
เกลือเป็นสารประกอบที่ประกอบด้วยโซเดียมคลอไรด์เป็นส่วนใหญ่ (ถ้าเด็กพอจะจำได้ NaCl)
โดยปกติแล้วเกลือจะมีโซเดียมคลอไรด์ที่ประมาณ 98% ต่อน้ำหนัก และในหลายๆครั้งคนก็มักจะใช้คำว่าเกลือและโซเดียมสลับไปมา (น่าจะเคยได้ยินว่าอันนี้มีโซเดียมเยอะนะ อะไรทำนองนั้น)
เกลือนั้นสามารถมาได้จากสองแหล่งคือการระเหยน้ำทะเลหรือน้ำเค็ม หรือการทำเหมืองจากเกลือใต้ดิน
โดยปกติแล้วเกลือที่ขายกันในท้องตลาด จะผ่านกระบวนการปรับแต่งเพื่อกำจัดส่วนที่ไม่สะอาด impurities หรือแร่ธาตุอื่นนอกจาก โซเดียมคลอไรด์ ออกไป
ในบางครั้งจะมีการเติมสารป้องกันการเกาะตัว anticaking agent ลงไป และไอโดดีนก็มักจะถูกเติมลงไปเพื่อป้องกันภาวะขาดไอโอดีนในตัวผู้บริโภค
มนุษย์เรานั้นได้ใช้เกลือมาปรุงอาหารและถนอมอาหารมาเป็นกว่าพันๆปีแล้ว
โซเดียมนั้นมีหน้าที่สำคัญหลายอย่างมากในร่างกาย เช่น การรักษาสมดุลของเหลว ระบบประสาม และการยืดหดของกล้ามเนื้อ
ด้วยเหตุนี้การในระหว่างทานอาหารคีโต เกลือ หรือบางทีผมก็เรียกว่า เกลือแร่ Electrolyte จึงมีความสำคัญอย่างมากที่จะช่วยป้องกันอาการผิดปกติต่างๆได้ ที่เรามักจะเรียกรวมๆว่าไข้คีโต
โดยเหตุผลนี้มันจำเป็นมากที่คุณจะต้องทานเกลือหรือโซเดียมในอาหารของคุณ
อย่างไรก็ตาม มีผู้ทำงานด้านการแพทย์หลายคนที่ยังบอกว่าปริมาณโซเดียมที่สูงจะทำให้เกิดความดันสูงและโรคหัวใจ มีงานวิจัยปัจจุบันบางเรื่องที่ศึกษาว่าความเชื่อเหล่านี้เป็นสิ่งที่จริงหรือไม่
ด้วยเหตุนี้หลายต่อหลายคนจึงหันไปใช้เกลือสีชมพูมาแทน เพราะเชื่อว่ามันอาจจะเป็นตัวเลือกที่ดีต่อสุขภาพมากกว่า
ทำไมต้องเกลือสีชมพู
เกลือสีชมพูเป็นเกลือที่มีสีชมพูโดยทำการขุดมาจากเหมืองเกลือ Khewra ใกล้เทือกเขาหิมาลัยในประเทศปากีสถาน
เหมืองเกลือ Khewra เป็นเหมืองเกลือที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโล
โดยเกลือสีชมพูจากเหมืองนี้มักถูกเชื่อว่าเป็นก้อนเกลือที่มาอายุเป็นล้านๆปี ที่เกิดจากการระเหยของน้ำใต้ดิน
เกลือชมพูจะถูกขุดออกมาโดยมือและไม่ค่อยผ่านกระบวนการและมักจะถูกมองว่าเป็นธรรมชาติมากกว่าเกลือแกง
เช่นเดียวกับเกลือแกง เกลือชมพูประกอบไปด้วยโซเดียมคลอไรด์เป็นส่วนใหญ่
แต่เนื่องจากการที่สกัดหรือขุดออกมาอย่างธรรมชาติ ทำให้เกลือชมพูยังมีแร่ธาตุอื่นๆในปริมาณน้อยที่อาจจะไม่พบในเกลือแกงทั่วๆไป
บางคนคาดการณ์ว่ามันอาจจะมีมากถึง 84 แร่ธาตุ ด้วยเหตุนี้การที่มันยังมีแร่ธาตุเหล็กปนบ้างทำให้เกลือหิมาลัยมีสีชมพู
เกลือสีชมพูมีแร่ธาตุมากกว่าเกลือแกง?
ทั้งเกลือแกงและเกลือสีชมพูนั้นประกอบด้วยโซเดียมคลอไรด์เป็นหลัก แต่เกลือสีชมพูอาจจะมีแร่ธาตุอื่นๆมากถึง 84 ชนิด
แร่ธาตุเหล่านี้อาจจะเป็นแร่ธาตุทั่วๆไปเช่น โพแทสเซียมและแคลเซียม รวมถึงแร่ธาตุแปลกที่คนไม่ค่อยรู้จัก เช่น strontium และ molybdenum
งานวิจัยหนึ่งได้ทำการเปรียบเทียบแร่ธาตุต่างๆในเกลือ รวมถึงเกลือชมพูและเกลือแกง
ตารางนี้แสดงค่าของธาตุต่างๆที่เราคุ้นเคย ใน 1 กรัมของเกลือในหลายๆชนิด (เสียดายไม่มีของประเทศไทยนะครับ – ใครสนใจประเทศอื่นดูที่งานวิจัยได้เลยมีเกลือจาก 45 แหล่ง)
หน่วย มก. | เกลือชมพู | เกลือแกง | เกลือทะเล | ดอกเกลือ | เกลือโลว์โซเดียม | เกลือดำ |
แคลเซียม | 1.6 | 0.4 | 0.5 | 6.0 | 0.3 | 14 |
โพแทสเซียม | 2.8 | 0.9 | 2.3 | 6.5 | 669 | 7 |
แมกนีเซียม | 1.06 | 0.0139 | 0.307 | 17.6 | 2.37 | 10.8 |
เหล็ก | 0.0369 | 0.0101 | 0.00446 | 0.0261 | 0.0058 | 0.0145 |
โซเดียม | 368 | 381 | 443 | 375 | 139 | 303 |
ที่มา | Himalayan Mountains | Morton’s Table salt with iodine | Okinawa Shima Masu Sea Salt, Japan | Pangasinan Star fleur de sel, Philippines | Nutra SaltTM (66% less sodium) USA | Kilauea Black salt, Hawaii |
หากเราดูจากตารางด้านบนเปรียบเทียบระหว่างเกลือแกงและเกลือชมพู เราจะพบว่าเกลือแกงมีโซเดียมมากกว่า ในขณะที่เกลือสีชมพูมีแร่ธาตุอื่นอันได้แก่ แคลเซียม โพแทสเซียม แมกนีเซียม และเหล็ก
(ข้อมูลเพิ่มเติมแต่อย่างที่เห็น ผมได้เพื่มเกลือตัวอื่นๆเข้าไปประกอบ เช่น เกลือทะเลจากญี่ปุ่น ดอกเกลือจากฟิลิปปินส์ เกลือโลว์โซเดียมอเมริกา เกลือสีดำจากรัฐฮาวาย จะเห็นได้ว่าเกลือสีชมพูไม่ได้มีลักษณะโดดเด่นไปกว่าเกลือชนิดอื่นๆเลย)
สมมติว่าคุณต้องทานโพแทสเซียมให้ได้ตามค่าแนะนำต่อวัน คุณจะต้องบริโภคเกลือชมพูราวๆ 1.7 กก. กรัม
ถ้าสมมติว่าคุณต้องทานโพแทสเซียมให้ได้ตามค่าแนะนำต่อวัน คุณจะต้องบริโภคเกลือชมพูราวๆ 1.7 กก. กรัม ซึ่งนั่นเป็นปริมาณที่เป็นไปไม่ได้เลย โดยส่วนใหญ่แล้วแร่ธาตุแถมที่อยู่ในเกลือชมพูนั้นมีปริมาณที่น้อยมาก จนมันไม่น่าจะให้คุณประโยชน์อะไรได้เลย
ความเห็นแอดมิน
ถ้าถามผม ถ้าเราพิจารณาจากสารอาหารที่วัดได้ในเกลือแล้วนั้น ผมจะแนะนำให้คุณทานเป็นเกลือทะเลของไทย หรือไม่ก็ดอกเกลือ เนื่องจาก คุณจะได้ประโยชน์ตรงที่ว่าเกลือนี้ไม่ได้ผ่านกระบวนการฟอกขาวเพื่อกำจัดแร่ธาตุอื่นจนเหลือน้อยมาก เหมือนกับเกลือเสริมไอโอดีน ซึ่งจริงๆแล้วไอโอดีนคุณสามารถที่จะได้มาจากอาหารทะเล ไข่ สาหร่าย กุ้ง รวมถึงผลิตภัณฑ์จากนมเช่นชีส เป็นต้น
แต่หากคุณมีกำลังทรัพย์จะไปซื้อหาเกลือชมพูก็แล้วแต่ แต่ในความเห็นคิดว่าไม่จำเป็น และเป็นกระแสมากกว่า