ทางเลือกใหม่ของทุกคนในการดูแลสุขภาพกับการกินคีโตให้ถูกต้อง

“สุขภาพดีไม่มีขาย อยากได้ต้องทำเอง” ยังคงเป็นสิ่งที่ถูกต้องทุกประการไม่ว่าเวลาจะผ่านนานแค่ไหนก็ตาม ซึ่งในปัจจุบันการดูแลสุขภาพก็มีด้วยกันหลายวิธี ขึ้นอยู่กับความถนัด หรือแนวทางของแต่ละคน การ “กินคีโต” ก็ถือเป็นอีกทางลือกที่น่าสนใจ และมีคนจำนวนมากใช้งานวิธีนี้ อย่างไรก็ตามเพื่อให้ผลลัพธ์ออกมาตามที่คาดหวัง รวมถึงไม่ส่งผลเสียใด ๆ ต่อร่างกาย จึงอยากให้ทุกคนได้รู้จักกับ “คีโตเจนิค” อย่างถูกต้อง

การกินคีโต คืออะไร

การกินคีโต คือ รูปหนึ่งของการดูแลสุขภาพด้วยวิธีกินอาหารที่มีไขมัน และการทานโปรตีนเป็นหลัก โดยลดอาหารประเภทแป้ง (คาร์โบไฮเดรต) และน้ำตาล เมื่อร่างกายเริ่มปรับสภาพได้ก็จะมีการผลิตสารคีโตนขึ้น จากนั้นจึงเข้าสู่ภาวะคีโตสิส เป็นภาวะของร่างกายที่จะดึงไขมันออกมาใช้งานเป็นพลังงานหลักแทนที่ของการใช้น้ำตาลหรือกลูโคส

หลักการกินคีโตที่ถูกต้อง

ตามที่อธิบายไปว่าการกินคีโต เป็นการเลือกกินไขมันเป็นหลัก ดังนั้นเพื่อให้มั่นใจว่าการกินของคุณมีความถูกต้องจึงขอแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม ดังนี้

1. ไขมันที่เหมาะสมสำหรับคนกินคีโตควรเป็นไขมันไม่อิ่มตัว และไขมันอิ่มตัว ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่

  • ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว หรือ Monounsaturated Fatty Acid สามารถทานได้ เช่น น้ำมันรำข้าว, น้ำมันมะกอก, น้ำมันคาโนลา, เม็ดมะม่วงหิมพานต์, อัลมอนด์, อะโวคาโด, วอลนัท, แมคคาเดเมีย, เฮเซลนัท
  • ไขมันอิ่มตัว Saturated Fatty Acid ซึ่งจะพบได้มากในไขมันสัตว์ สามารถทานได้ เช่น น้ำมันหมู เบคอน ไข่แดง เนย และไขมันจากสัตว์ทุกชนิด นอกจากนี้ยังมีไขมันจากปลาและอาหารทะเล ที่นอกจากจะมีไขมันอิ่มตัวแล้ว หลายๆต่อหลายชนิดยังมีไขมันไม่อิ่มตัวประเภท Omega-3 อีกด้วย
อ่านเพิ่มเติมที่บทความ ไขมันกับคีโต

2. ผัก ผลไม้ที่แนะนำให้กินประจำ เช่น อะโวคาโด, มะพร้าว, ผักใบเขียวทุกชนิด, ดอกกะหล่ำ, เบอร์รี่ชนิดต่าง ๆ, เลมอน, มะกอก, แตงกวาญี่ปุ่น, มะเขือเทศ, เห็ด, พริกหวาน, หอมใหญ่ หรือกลุ่มผักกับผลไม้ที่มีแป้งและน้ำตาลน้อยมาก

อยากรู้เพิ่มเติม ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ อาหารต่างๆ สำหรับอาหารคีโต ว่าชนิดไหนมีแป้งและน้ำตาลน้อย

3. อาหารประเภทไข่, นม หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม เช่น ชีส, เนย, วิปครีมต่าง ๆ สามารถทานได้แค่ควรจำกัดปริมาณอย่างเหมาะสม เพราะว่าหากทานมากไปก็อาจจะทำให้การลดน้ำหนักช้านั่นเอง

4. คนที่ตัดสินใจเลือกกินคีโตหากมีอาการของโรคบางชนิดต้องเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์ เช่น โรคเบาหวาน, โรคเกี่ยวกับตับ ไต, โรคตับอ่อนอักเสบ, โรคลำไส้แปรปรวน หรือการมีคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงมากกว่าปกติหลายเท่า ด้วยประเภทของอาหารที่กินอาจส่งผลเสียต่อร่างกาย

5. ต้องทำความเข้าใจว่าการดูแลสุขภาพรวมถึงการลดน้ำหนักด้วยวิธีนี้จะมีรูปแบบการกินต่างจากชีวิตปกติที่เคยทำมา จึงควรตั้งใจแน่วแน่ มีวินัยในตนเองชัดเจน เนื่องจากการทำแบบไม่จริงจังนอกจากไม่ได้สุขภาพตามเป้าหมายที่ต้องการยังอาจทำให้เกิดผลเสียอื่น ๆ ตามมาด้วย

6. หากมองในมุมของคนรักการกินไขมัน “คีโต” ถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจมาก เพราะไม่ต้องอดหรือเลี่ยงการกินอาหารหลาย ๆ ชนิดซึ่งต่างจากการกินคลีน แต่ทั้งนี้ก็ต้องควบคุมปริมาณไขมันบางชนิด เช่น ไขมันให้เหมาะสม หากกินมากเกินไปก็ส่งผลเสียกับร่างกายได้เช่นกัน นั่นก็คือ

7. อธิบายให้คนรอบข้างเกิดความเข้าใจถึงแนวทางการกินอาหารที่เปลี่ยนไปของตนเอง เหตุเพราะพื้นฐานสังคมไทยนิยมการกินข้าวซึ่งอุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรตเป็นหลัก รวมถึงยังนิยมการกินข้าวร่วมกัน ซึ่งอาหารของคนกินคีโตมักแตกต่างจากคนทั่วไปตามที่บอกเอาไว้เบื้องต้น เน้นอาหารกลุ่มไขมันซึ่งอาจไม่ถูกใจคนอื่นได้

8. เนื่องจากร่างกายได้รับคาร์โบไฮเดรตน้อยลงมาก ๆ จึงอาจเกิดปัญหาขาดสารอาหารกลุ่มวิตามินและแร่ธาตุบางประเภท เช่น วิตามินบี 1, วิตามินซี, แมกนีเซียม จึงอาจต้องกินอาหารเสริมเพิ่มเติมเข้าไปแทน หากการทานไม่ครับก็จะส่งผลให้คุณเกิดผลข้างเคียง ที่นิยมเรียกว่า ไข้คีโต

เรียนรู้การทานคีโตอย่างครบได้ที่ เราจะเริ่มคีโตได้อย่างไร

ตอบข้อสงสัยทำไมการกินคีโตหรือการกินไขมันจึงดีต่อสุขภาพ

จากแนวทางที่กล่าวมาอาจทำให้หลายคนสงสัยว่าการกินคีโตเป็นการเน้นไปที่ไขมันส่วนใหญ่ ซึ่งตามความเข้าใจที่เคยเรียนรู้กันมา หากกินไขมันในปริมาณมาก ๆ มักส่งผลเสียต่อร่างกาย?

ตามหลักของคีโนเจนิคจะเป็นการลดปริมาณการกินคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลลงเยอะมาก ซึ่งปกติสารอาหารเหล่านี้มักถูกนำมาใช้ในรูปของพลังงาน แต่เมื่อร่างกายไม่สามารถหาได้ก็ต้องอาศัยแหล่งพลังงานอื่นเข้ามาทดแทน และคำตอบก็ไปตกอยู่กับ “ไขมัน” นี่จึงเป็นสิ่งที่ภาวะของร่างกายถูกเรียกว่า “คีโตสิส” (Ketosis) ตามที่ได้อธิบายเอาไว้ตั้งแต่ต้น มีสาร “คีโตน (Ketone) เกิดขึ้นในตับ

อย่างไรก็ตามผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภาวะดังกล่าวจะสังเกตเห็นภายใน 1-2 สัปดาห์แรกหลังจากเริ่ม นั่นคือ ไม่ค่อยมีเรี่ยวแรง เหนื่อยง่าย อ่อนล้า รู้สึกเพลีย สมองไม่ค่อยทำงาน มีกลิ่นปากเกิดขึ้น บางคนอาจเป็นมากกว่า 2 สัปดาห์ แต่อาการเหล่านี้จะค่อย ๆ ดีขึ้นเมื่อร่างกายสามารถปรับตัวและดึงเอาไขมันกับสารคีโตนมาใช้แทนคาร์บกับกลูโคส   เมื่อเข้าใจถึงทางเลือกใหม่ของคนที่ต้องการหันมาดูแลสุขภาพอย่างการกินคีโต ลองพิจารณาและตัดสินใจให้ชัดเจนอีกครั้ง หากพร้อมแล้วก็สามารถเริ่มต้นกันได้เลย ยิ่งดูแลตนเองดีเท่าไหร่ ลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสมย่อมยืดอายุ

Leave a Comment